×
×
หลักเกณฑ์คัดเลือกนศ.

หลักสูตรการเรียนการสอน

ศึกษาทั่วไป (33 หน่วยกิต) วิชาเฉพาะ (94 หน่วยกิต) วิชาเลือกเสรี (ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต)
กลุ่มวิชา หน่วยกิต กลุ่มวิชา หน่วยกิต
กลุ่มวิชาด้านพัฒนาทักษะผู้เรียนรู้ (Learner Person) 21 วิชาแกน ไม่น้อยกว่า 38
กลุ่มวิชาด้านการพัฒนาทักษะเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์สร้านวัตกรรม (Innovative Co-Creator) 6 วิชาเอก ไม่น้อยกว่า 56
กลุ่มด้านการพัฒนาทักษะการเป็นพลเมืองที่เข็มแข็ง (Active Citizen) 6 วิชาโท (ถ้ามี) ไม่น้อยกว่า 15
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564






แนะนำคณาจารย์ประจำหลักสูตร



มีการเรียน-การสอนอะไรบ้าง?

  สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรจะเรียนกระบวนวิชาทางเศรษฐศาสตร์และทางการเกษตรให้มีความรู้ความเข้าใจและพื้นฐานทั้งในด้านเศรษฐศาสตร์และเกษตรศาสตร์อย่างเพียงพอ แล้วจึงเรียนกระบวนวิชาทางเศรษฐศาสตร์เกษตรควบคู่ไปกับกระบวนวิชาด้านการวิเคราะห์เพื่อให้การประยุกต์หลักทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ มีความเหมาะสมสอดคล้องตรงตามสภาพและข้อจำกัดทางด้านการเกษตร อีกทั้งมีความชัดเจน เป็นรูปธรรมบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และสามารถนำไปปฏิบัติได้ นอกจากนี้ยังเรียนกระบวนวิชาในหมวดการศึกษาทั่วไปเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจด้านต่างๆ ในการดำเนินชีวิตในสังคมและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 ได้แบ่งออกเป็น 2 แผน ตามสถานการณ์ปัญหา ความสนใจและแนวทางการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศเพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์ตรงความต้องการของสังคมและประเทศชาติชัดเจนมากขึ้น โดยแผนทั้ง 2 ประกอบด้วย
  • แผนเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งจะเน้นทำการศึกษาในด้านการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ทั้งในการผลิตและการตลาดเกษตร ตลอดจนในสิ่งสนับสนุนอันจำเป็นต่อการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาภาคการเกษตรบรรลุผลสำเร็จ
  • แผนธุรกิจเกษตร ซึ่งจะเน้นทำการศึกษาในด้านธุรกิจการเกษตรในประเด็นการบริหารจัดการธุรกิจเกษตรทั้งด้านการผลิต การเงิน การกระจายสินค้า โลจิสติกส์และอื่นๆ เพื่อการแก้ไขปัญหาและสนับสนุนการพัฒนาภาคการเกษตรให้มีประสิทธิภาพและแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก


เศรษฐศาสตร์เกษตร คือ ศาสตร์ อะไร ?


เศรษฐศาสตร์เกษตรคือเศรษฐศาสตร์ประยุกต์สาขาหนึ่งที่นำเอาศาสตร์หรือวิทยาการทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ในทางหรือด้านการเกษตรเพื่อให้การผลิตเกษตรมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของตลาดหรือผู้บริโภค ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพียงพอต่อการดำเนินชีวิตที่มีคุณภาพ รักษาขีดความสามารถการแข่งขันในเวทีการค้าโลกและดำรงสถานะความเป็นครัวโลกไว้ได้ อันเป็นประเด็นปัญหาและวัตถุประสงค์สำคัญของประเทศ

ทำไมเศรษฐศาสตร์เกษตรจึงเป็นสาขาวิชาหนึ่งในคณะเกษตรศาสตร์ ?


ด้วยสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรตามหลักสากลจะมีแนวทางการศึกษา 2 แนวทาง ได้แก่ เศรษฐศาสตร์เกษตรที่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเศรษฐศาสตร์เกษตรที่มีพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ โดยเศรษฐศาสตร์เกษตรที่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มักเป็นสาขาวิชาหนึ่งในคณะเกษตรศาสตร์ นอกจากนี้การจัดสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรไว้ในคณะเกษตรศาสตร์ จะเอื้อให้สาขาวิชาในคณะเกษตรศาสตร์มีความสมบูรณ์ครบถ้วนทั้งสาขาวิชาทางการเกษตรโดยตรงและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการจัดให้มีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรขึ้นในคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็เนื่องด้วยเหตุผลนี้

นักศึกษาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรควรมีลักษณะอย่างไร ?


สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ควรมีลักษณะพื้นฐาน ดังนี้
  • มีความสนใจและชอบในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์สังคมหรือเศรษฐศาสตร์หรือธุรกิจ
  • มีความสนใจใคร่รู้และตื่นตัวต่อสถานการณ์และปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการเกษตร
  • ชอบคิดและค้นหาคำตอบถึงสาเหตุของปัญหา ผลทีเกิดขึ้นและแนวทางการจัดการแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ

แนวทางในการประกอบอาชีพ


ประกอบอาชีพได้อย่างกว้างขวางในทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และการประกอบอาชีพส่วนตัว
  • 1. ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร (entrepreneur) ยุค digital economy
  • 2. นักเศรษฐกร (economist) วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์เศรษฐกิจ
  • 3. นักวิจัย (researcher) วิจัยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจการเกษตร
  • 4. นักวิเคราะห์นโยบาย (Policy analyst) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจเกษตร
  • 5. นักการตลาดเกษตร (agricultural marketer) พัฒนาตลาดสินค้าเกษตรทันสมัย

จุดเด่นของหลักสูตร

   ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี ได้ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์เกษตร) ซึ่งสำนักงานข้าราชการพลเรือนเทียบเท่าวุฒิให้เป็นวุฒิทางเศรษฐศาสตร์ และถือเป็นปริญญาทางเศรษฐศาสตร์อีกทางหนึ่งด้วย สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศ ในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจเกษตร หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องตามความสนใจ

กิจกรรมที่น่าสนใจ




ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่