Logo Banner
spacer
หน้าแรก  |  หน่วยงาน  |  หลักสูตร  |  การวิจัย  |  นักศึกษาเก่า  |  e-Service  |  e-Salary  |  Budget Management  |  AGRI-MIS  |  CMU-Mail  |  CMU-MIS  |  EngLish
 SEARCH
      ประชาสัมพันธ์
แนะนำคณะ
วีดีทัศน์แนะนำคณะ
ยุทธศาสตร์คณะ (2555-2559)
ยุทธศาสตร์คณะ (2551-2554)
คู่มือการจัดทำคำรับรองฯ มช.
(2556-2557)
คู่มือการติดตามแผนฯ 11 มช.
(2555-2559)
แผนพัฒนาฯ 11 คณะ
(2555-2559)
คณะกรรมการอำนวยการ
คณะที่ปรึกษาคณะ
คณะผู้บริหาร
ทำเนียบคณบดี
หน่วยงานและโครงสร้าง
คณาจารย์และเจ้าหน้าที่
หมายเลขโทรศัพท์
การบริการวิชาการ
การประกันคุณภาพ
ห้องสมุดคณะ
ปฏิทินกิจกรรม
วารสารเกษตร
รายการเกษตรเพื่อชีวิต
ประชาสัมพันธ์(ทั่วไป)
ประชาสัมพันธ์(ภายใน)
ฝากประชาสัมพันธ์
ดาวน์โหลด
แผนที่เว็บไซต์
      การเรียนการสอน
หลักสูตร ( จัดการหลักสูตร )
หลักสูตรเกษตรศาสตร์
- หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2553
- หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556
หลักสูตรเศรษฐศาสตร์เกษตร ปรับปรุง พ.ศ. 2553
การเรียนการสอน
การเข้าศึกษา
ทุนการศึกษา
ฐานข้อมูลกระบวนวิชา
ฐานข้อมูลนักศึกษา
หน่วยงานสนับสนุน
แนวทางประกอบอาชีพ
      การวิจัย
การวิจัย
นโยบายทิศทางการวิจัย
ฐานข้อมูลทางการวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
นักวิจัยที่ได้รับรางวัล
ผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล
สิทธิบัตร
ความรู้เรื่องสิทธิบัตร
มาตรฐานงานวิจัย / จรรยาบรรณนักวิจัย
- CMU Lab Safety
- CMUIBC
- Lab Animal
- CMU ETHICS

Locations of visitors to this page


 นโยบายทิศทางการวิจัย

พันธกิจ
  1. ด้านการวิจัย
    - สร้างผลงานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาวัตกรรมและการกำหนดนโยบายเพื่อการพัฒนาการเกษตรการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
    - สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา

  2. ด้านการบริการวิชาการ
    - ขยายการบริการวิชาการที่สามารถนำไปสู่การพึ่งตนเอง
    - ปรับปรุงรูปแบบการถ่ายทอดวิชาการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์
  1. มุ่งพัฒนาการวิจัยด้านเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ทั้งในด้าน พื้นฐานและประยุกต์
  2. ส่งเสริมให้เกิดการวิจัยอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชนเกษตรกรรม และผู้ประกอบการโดย ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและภูมิภาค
  3. มุ่งเน้นการวิจัยที่ส่งประโยชน์แก่การเรียนการสอนด้านการเกษตร การปรับปรุงระบบการจัดการเทคโนโลยีและข้อมูล การเกษตรของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน พร้อมทั้งการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกร
  4. มุ่งส่งเสริมและพัฒนางานบริการทางวิชาการสู่ชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรอย่างจริงจัง โดยจะร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและในภูมิภาค
  5. มุ่งเน้นการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านการเกษตรมาใช้ในการพัฒนางานวิชาการ งานวิจัย และการบริการวิชาการให้มีประสิทธิภาพสูง
ยุทธศาสตร์

คณะเกษตรศาสตร์ โดยงานบริการงานวิจัยและพัฒนา ได้ประสานให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การวิจัยของคณะฯ ขึ้นโดย คณะ ทำงานจัดทำร่างยุทธศาสตร์งานวิจัยซึ่งเป็นกรรมการจากการแต่งตั้งของคณะฯ และผ่านความเห็นชอบ จากคณะกรรมการบริหาร งานวิจัย ของ คณะเกษตรศาสตร์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านการวิจัยของคณะเกษตรศาสตร์ต่อไป ยุทธศาสตร์งานวิจัย คณะเกษตรศาสตร ์ แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้

  1. แผนยุทธศาสตร์เพื่อความเข้มแข็งทางการบริหารจัดการ
    1.1 ยกระดับและจัดรูปแบบการบริหารงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพเพื่อนำไปสู่ความเข้มแข็งของหน่วยวิจัยและนักวิจัย
    1.2 นำความพร้อมของปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนงานวิจัย แสวงหาอุปกรณ์สนับสนุนการวิจัยเพิ่มมากขึ้น
    1.3 สนับสนุนให้เกิดกลุ่มวิจัยและหน่วยวิจัยในลักษณะสหสาขาวิชา (Interdisciplinary) เพิ่มขึ้นสร้างโครงการขนาดใหญ่ และมีผลต่อการสร้างประสบการณ์ให้แก่นักวิจัยรุ่นใหม่และสนับสนุนให้อาจารย์ทุกคนทำวิจัย โดยสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม
    1.4 สนับสนุนให้มีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีส่วนร่วมในโครงการวิจัยกำหนดให้ นักศึกษาทุนหลักสูตรทำการศึกษา/วิจัย โดยให้เป็นเงื่อนไขสำหรับการสำเร็จการศึกษา ส่งเสริมให้ข้าราชการ/พนักงาน ทำการศึกษา/วิจัย เพื่อพัฒนางาน
    1.5 จัดให้มี “แหล่งความคิด” (Think Tank) และมีผู้ประสานงานโครงการวิจัย (Research Liaison) เพื่อแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย
    1.6 ผลักดันให้มีการวิจัยร่วมกับหน่วยวิจัยทั้งในและนอกประเทศ
    1.7 สนับสนุนให้มีการวิจัยร่วมกับภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น
    1.8 สนับสนุนให้มีการขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐเพื่อให้หน่วยวิจัยของ คณะเกษตรศาสตร์เข้าสู่มาตรฐานสากล

  2. แผนยุทธศาสตร์เพื่อความเข้มแข็งทางด้านวิชาการ
    2.1 การวิจัยวิทยาศาสตร์เกษตรเพื่อการผลิตทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ สรีระวิทยา การปรับปรุงพันธ์และเคมีเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชและสัตว์ ในด้านการปรับปรุงพันธุ์ ระบบการผลิตที่นำไปสู่การลดการใช้สารเคมี และคุณภาพผลผลิตที่เป็นความต้องการของตลาด
    2.2 การวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรในการตลาดที่แข่งขัน สนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรที่ปลอดภัยกับผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ ที่สามารถแข่งขันทางการค้าได้ในระดับประเทศ ภูมิภาคและระหว่างประเทศ
    2.3 การวิจัยเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัยด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรดินน้ำ และป่าไม้ และ ผลกระทบของระบบการผลิตทางเกษตรที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตลอดจนการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการจัดการฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบการผลิต ทั้งนี้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ที่ดินการอนุรักษ์ความหลากหลายของพันธุกรรมพืชในสภาพอนุรักษ์ในถิ่นในสภาพอนุรักษ์นอกถิ่น และในไร่นาของเกษตรกร
    2.4 การวิจัยการเกษตรอินทรีย์เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัยตามแนวทางการพัฒนาอาชีพที่สัมพันธ์กับการเกษตรและสภาพแวดล้อมที่สอดรับกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิดประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรภายใน ท้องถิ่นอย่างสูงสุด และสนับสนุนงานวิจัยที่ก่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรในท้องถิ่นนั้น ๆ รวมทั้งการเกษตรปลอดพิษ การเกษตรอินทรีย์
    2.5 การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการเกษตรเพื่อแก้ปัญหาชุมชนและมีส่วนร่วมกับ ชุมชนสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน ทั้งนี้ ให้เกิดผลจากการวิจัยในรูปของนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาของชุมชนนั้น ๆ อาทิ นวัตกรรมการผลิต พืชและสัตว์ นวัตกรรมการลดการใช้สารเคมี การรวมกลุ่มของชุมชนเกษตรเพื่อแก้ปัญหาตัวเอง เน้นการใช้ประโยชน์ และผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและการจัดการโดยชุมชนท้องถิ่น
    2.6 การวิจัยเพื่อสนับสนุนนโยบายเกษตร สนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัยตามแนวทางการวิเคราะห์การเกษตรด้านนโยบาย เพื่อปรับปรุงแนวทางในการกำหนดนโยบายและการจัดการในระดับต่าง ๆ อย่างเหมาะสม นโยบายต่าง ๆ รวมทั้งนโยบายการผลิตที่ดิน การค้าและตลาด สินเชื่อ การจัด องค์กร สหกรณ์ การบริหาร ที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรในด้านต่าง ๆ
    2.7 การวิจัยเพื่อเพิ่มองค์ความรู้การผลิตการเกษตรสู่มือผู้ใช้ สนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัยด้านการผลิตทางเกษตร โดยเฉพาะการจัดการพืชสัตว์ และแมลงศัตรูพืชที่เป็นองค์ความรู้ใหม่เพื่อสนับสนุนงานวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต เชิงบูรณาการ รวมทั้งการทดสอบเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับพื้นที่และกระบวนการส่ง เสริมเทคโนโลยีเหล่านั้นสู่มือผู้ใช้
กลยุทธ์
  1. ด้านการวิจัย
    1.1 ใช้นโยบายในการแสวงหาอุปกรณ์สนับสนุนการวิจัยเพิ่มมากขึ้น
    1.2 สนับสนุนให้เกิดกลุ่มวิจัยและหน่วยวิจัยในลักษณะสหสาขาวิชา (Interdisciplinary) เพิ่มขึ้นเพื่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ และมีผลต่อการสร้างประสบการณ์ให้แก่ นักวิจัยรุ่นใหม่
    1.3 จัดให้มี “แหล่งความคิด” (Think Tank) และมีผู้ประสานงานโครงการวิจัย (Research Liaison) ที่ทำหน้าที่เสมือน “นักขายโครงการวิจัย” เพื่อแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย
    1.4 สนับสนุนให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีส่วนร่วมในโครงการวิจัย
    1.5 ผลักดันให้มีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีส่วนร่วมในโครงการวิจัย
    1.6 จัดรูปแบบการบริหารงานวิจัยเพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเอง
    1.7 สนับสนุนให้มีการวิจัยร่วมกับภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น

  2. ด้านการบริการวิชาการ
    2.1 พัฒนาประสิทธิภาพของศูนย์บริการวิชาการเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการสูงสุดและสามารถพึ่งตนเองได้
    2.2 ขยายและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาแบบต่อเนื่องและรูปแบบการบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น และนานาชาติ
    2.3 เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์และสื่อสารมวลชนทุกประเภท
แผนแม่บทการวิจัยคณะเกษตรศาสตร์
  1. แผนแม่บทการวิจัยด้านการเรียนรู้ร่วมพัฒนาชุมชนและนวัตกรรม
  2. แผนแม่บทการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพและความหลากหลายทางชีวภาพ
  3. แผนแม่บทการวิจัยด้านสารเคมีและสิ่งแวดล้อม
  4. แผนแม่บทการวิจัยด้านลำไย
  5. แผนแม่บทการวิจัยด้านเกษตรที่สูง
  6. แผนแม่บทการวิจัยด้านธัญพืช
  7. แผนแม่บทการวิจัยด้านผลิตพืช
  8. แผนแม่บทการวิจัยด้านผลิตสัตว์
  9. แผนแม่บทการวิจัยเศรษฐศาสตร์/สังคม/ธุรกิจเกษตร
  10. แผนแม่บทการวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


ใต้ร่มพระบารมี
งานบริการการศึกษา และพัฒนาคุณภาพนักศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา คณะเกษตรศาสตร์
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินระบบใหม่ของบุคลากร
ข่าวประกาศรับสมัครงาน คณะเกษตรศาสตร์
ATSC
จรรยาบรรณผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หลักสูตรปริญญาโท สาขาธุรกิจเกษตร(ภาคพิเศษ)
พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550
KM-Corner
หน่วยวิจัยข้าวก่ำ
CMU-MIS
CMUIR
AGRI-MIS
e-Book
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำนักหอสมุด มช.
Econ and Extens
TAHAP
kasetfair2015
ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ
turnitin
เอกสารคู่มือการใช้งาน
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ : 0-5394-4009 โทรสาร : 0-5394-4666       Nedstat Basic