วิจัย นวัตกรรม การสร้างสรรค์ |
ความเป็นมา
คณาจารย์และบุคลากรของคณะฯ ได้ดำเนินการวิจัยอย่างสืบเนื่องมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2509 ในช่วง 5 ปีแรก เป็นการจัดหาความพร้อมด้านการวิจัย เป็นต้นว่า
บุคลากร แปลงทดลอง ห้องปฏิบัติการ และแหล่งทุนสนับสนุน งบประมาณ ปี 2512 มีการวิจัยอย่างเป็นกลุ่มก้อนและจริงจัง ซึ่งเริ่มต้นจากการวิจัยเชิงเดี่ยว
ที่เน้นการยกระดับผลผลิตพืชและสัตว์ต่อหน่วยพื้นที่ จนถึงระยะเวลาในปัจจุบัน ที่การวิจัยเน้นเชิงบูรณาการ ความยั่งยืน และความปลอดภัยทั้งของผู้ผลิตและผู้บริโภค
นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงการจัดตั้งศูนย์และหน่วยวิจัย การบริหารจัดการงานวิจัย ระบบสนับสนุนงานวิจัยและนักวิจัย ความเชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยและการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา
ความร่วมมือในการดำเนินงานวิจัยระหว่างภาควิชา คณะ/สถาบัน ทั้งในสาขาและระหว่างสาขา
พัฒนาการ
งานวิจัยของบุคลากรของคณะเกษตรศาสตร์สามารถแบ่งเนื้องานวิจัยของคณาจารย์และบุคลากร ทั้งที่เป็นงานวิจัยแบบสาขาวิชาเดี่ยว (Disciplinary research) และสหสาขาวิชา (Interdisciplinary research)
ได้ตามพัฒนาการของวงการวิจัยในระดับนานาชาติได้ดังนี้
ระหว่าง พ.ศ.2504-2513 (ค.ศ.1961-1970)
การวิจัยทางเกษตรตามแนวคิดปฏิวัติเขียว (Green Revolution) ขององค์กรวิจัยเกษตรนานาชาติ นั่นคือการใช้เทคโนโลยีทางเกษตรได้แก่
เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี สารเคมี เครื่องจักรกลในการพัฒนาและยกระดับผลผลิตพืชและสัตว์ต่อหน่วยพื้นที่
ระหว่าง พ.ศ.2514-2523 (ค.ศ.1971-1980)
กำเนิดยุคของระบบการปลูกพืชที่มีข้าวเป็นพืชหลัก เน้นการจัดรูปแบบการผลิตพืชแบบหมุนเวียนโดยเฉพาะในพื้นที่เขตชลประทาน
ส่วนในพื้นที่นาเขตอาศัยน้ำฝนเน้นการปลูกพืชก่อนและหรือหลังนาโดยใช้ความชื้นในดิน
ในระยะนี้ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับเกียรติให้จัดการประชุมวิชาการระบบการปลูกพืชครั้งแรกในประเทศไทยในปี 2520
และได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี เป็นเวลา 7 ปี (พฤกษ์, 2536) โดยมี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ กรมวิชาการเกษตร หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ
ซึ่งมีการเชื่อมโยงระหว่างนักวิชาการจากหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรให้มีโอกาสในการพิจารณาและศึกษาปัญหาของระบบเกษตรตั้งแต่ระดับไร่นาเกษตรกรถึงระดับนโยบาย
พิจารณาประเด็นความเสมดภาคของการจัดการทรัพยากรตามนโยบายต่อเกษตรกรรายย่อย
ระหว่าง พ.ศ.2524-2533 (ค.ศ.1981-1990)
กำเนิดยุคระบบการทำฟาร์มและยุคดิจิตอลในวงการเกษตรนานาชาติ และยุคของการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาหลายสาขาวิชา
มีการจัดตั้งสถาบันวิจัยระบบการทำฟาร์ม สังกัดกรมวิชาการเกษตรในปี 2526 มีการจัดประชุมวิชาการงานวิจัยระบบการทำฟาร์มครั้งแรกในปี 2527
โดยมีหน่วยงานเข้าร่วมเพิ่มเติมได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นต้น
ในระดับนานาชาติมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และแบบจำลองพืชหลักเพื่อเสริมงานวิจัยให้ก้าวหน้ามากขึ้น
ในระยะนี้ คณะเกษตรศาสตร์ได้มีงานวิจัยพอเพียงต่อการเปิดหลักสูตรบัณฑิตศึกษาหลายสาขาวิชา ได้แก่ พืชไร่ พืชสวน เกษตรศาสตร์เชิงระบบซึ่งในปี 2531 ได้พัฒนาเป็นหลักสูตรนานาชาติ
ระหว่าง พ.ศ.2534-2543 (ค.ศ.1991-2000)
กำเนิดของการเกษตรยั่งยืน การพัฒนาที่ยั่งยืน และยุคของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ มีการขยายหน่วยงานที่ดำเนินการวิจัยเชิงระบบในกรมวิชาการเกษตรซึ่งในปี 2536
สถาบันวิจัยการทำฟาร์มได้รับการจัดตั้งเป็นสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรจำนวนทั้งสิ้น 6 สำนัก ตามเขตเกษตรที่สำคัญของประเทศ
ในระยะนี้คณะเกษตรศาสตร์ได้ดำเนินการวิจัยอย่างพอเพียงและสามารถเปิดหลักสูตรปริญญาเอกในสองสาขาวิชาในปี 2538 ซึ่งจะกล่าวในส่วนของหลักสูตร
ระหว่าง พ.ศ.2544-2553 (ค.ศ.2001-2010)
กำเนิดของยุคการค้าเสรีในระดับโลกและระดับประเทศคู่ค้า กำเนิดของยุคจัดการความองค์ความรู้ การจัดการทรัพยากรโดยมีส่วนร่วม ในปี 2548 รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภา นโยบายการกำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารราชการแผ่นดินในระดับรัฐไว้ 9 ด้าน ได้แก่
- การกำหนดการแก้ไขปัญหาความยากจน
- การพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่นด้านมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
- การปรับโครงสร้างการผลิต
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การต่างประเทศ
- การพัฒนากฏหมาย
- ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย และกระบวนการประชาสังคม
- การรักษาความมั่งคงของรัฐ สถาบันพระมหากัษตริย์ การป้องกันประเทศ
- การรองรับการเปลี่ยนแปลงและพลวัตของโลก

สถานีวิจัยการเกษตรเขตชลประทาน มุมมองจากหน้าหอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
|