ชื่อและที่ตั้ง
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
239 ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง |
จังหวัดเชียงใหม่ 50200 |
|
โทรศัพท์ : |
0-5394-4009 , 0-5394-4012 |
โทรสาร : |
0-5394-4666 |
Website : |
http://www.agri.cmu.ac.th |
ดู คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า
ตราสัญลักษณ์

ตราสัญลักษณ์ภาษาไทย |
 ตราสัญลักษณ์ภาษาอังกฤษ |
(คลิกที่ภาพเพื่อขยาย) |
คณะเกษตรศาสตร์ ได้ใช้ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดยได้เพิ่มในส่วนชื่อและสีคณะ
ซึ่งทางสภามหาวิทยาลัยได้กำหนดตราประจำมหาวิทยาลัย
เป็นรูปช้างชูคบเพลิง และมีสุภาษิตเป็นภาษาบาลีว่า อต.ตานํ ทมยน.ติ ปณ.ฑิตา มีความหมายว่า
บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกฝนตนเอง อยู่ในวงล้อมรอบรูปช้าง
ช้างมีท่าทางเหมือนธรรมชาติ งวงจับคบเพลิงชูขึ้นเหนือหัว
เปรียบเสมือนแสงสว่างส่องทางให้นักศึกษาที่จะไปสู่
ความเจริญรุ่งเรืองต่อไป
สีประจำคณะ
สีประจำคณะเกษตรศาสตร์ คือ สีเหลืองข้าวโพด
ประวัติความเป็นมา
พ.ศ.2507 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเป็นภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร โดยสังกัดอยู่กับคณะวิทยาศาสตร์

อาคารที่ทำการภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ (อาคารชีววิทยา) ในปี พ.ศ. 2507
|
|
|
พ.ศ.2510 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นคณะตามประกาศพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2510 ให้เป็นหน่วยราชการระดับคณะ นับเป็นคณะที่ 5 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และแต่งตั้งให้ อาจารย์ ดร.สุขุม อัศเวศน์ เป็นคณบดีคนแรกของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น 5 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์ ภาควิชาสัตวบาล ภาควิชาพืชศาสตร์ ภาควิชาถนอมผลิตภัณฑ์เกษตร ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร

รศ. ดร.สุขุม อัศเวศน์ คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ท่านแรก
|

อาคารและบริเวณคณะเกษตรศาสตร์ในปีพ.ศ. 2510
|

อาคารแรกของคณะเกษตรศาสตร์ (อาคาร 08101) |
พ.ศ.2518 ภาควิชาถนอมผลิตภัณฑ์เกษตร เปลี่ยนชื่อเป็นภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และได้พัฒนาไปเป็นคณะอุตสาหกรรมเกษตรในปัจจุบัน ส่วนภาควิชาพืชศาสตร์ ได้ยุบภาควิชาและจัดตั้งเป็น ภาควิชาพืชสวน ภาควิชาพืชไร่ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร และภาควิชาอารักขาพืช
พ.ศ.2523 ยุบภาควิชาอารักขาพืชจัดตั้งเป็นภาควิชาโรคพืช และภาควิชากีฏวิทยา
พ.ศ.2535 ภาควิชาสัตวบาลได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นภาควิชาสัตวศาสตร์
พ.ศ.2547 ได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น 1 สำนักงานเลขานุการคณะ และ 8 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชากีฏวิทยา ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์ ภาควิชาพืชไร่ ภาควิชาพืชสวน ภาควิชาโรคพืช ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร ภาควิชาสัตวศาสตร์

อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ คณะเกษตรศาสตร์ มช. (พ.ศ. 2557) |
พ.ศ.2552 ได้หลอมรวมและแบ่งส่วนราชการเป็น 1 สำนักงานคณะ 3 ศูนย์ และ 4 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและส่งเสริมเผยแพร่การเกษตร และภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ
พ.ศ.2557 มีการปรับปรุงโครงสร้างคณะ จัดตั้งภาควิชาใหม่เพิ่มเติมอีก 1 ภาควิชา รวมมีทั้งหมด 5 ภาควิชา พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนชื่อและพันธกิจภาควิชาเดิม ได้แก่
- ภาควิชาเกษตรที่สูง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์
- ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช
- ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ

มีการเรียนการสอนการผลิตบัณฑิตทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยระดับปริญญาโทและเอก ขยายเปิดหลักสูตรนานาชาติและมุ่งเน้นสู่ความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งมีศูนย์วิจัยและฝึกอบรมเป็นสถานที่ฝึกงานของนักศึกษา สนับสนุนด้านการเรียน การสอน งานวิจัย ได้แก่
1. ศูนย์วิจัย สาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ
2. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง
3. ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร
4. ศูนย์บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร

พื้นที่ดูแล
คณะเกษตรศาสตร์ มีพื้นที่ดูแลประมาณ 2,202 ไร่ โดยแบ่งเป็นสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้
สถานที่ |
มีพื้นที่ |
อาคารเรียนและแปลงทดลองในบริเวณมหาวิทยาลัย |
77 ไร่ |
สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ |
1,293 ไร่ |
สถานีวิจัยเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน อ.เมือง |
442 ไร่ |
สถานีวิจัยการเกษตรที่สูงหนองหอย อ.แม่ริม |
80 ไร่ |
สถานีวิจัยการเกษตรที่สูงดอยป่าเกี๊ยะ อ.เชียงดาว |
60 ไร่ |
สถานีวิจัยการเกษตรเขตชลประทาน |
50 ไร่ |
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาลำไย หริภุญชัย |
200 ไร่ |
แผนผังติดต่อ

คลิกที่ภาพเพื่อขยาย(คณะเกษตรศาสตร์อยู่หมายเลข 33) หรือต้องการ เวอร์ชั่น GIF , เวอร์ชั่น PDF
|